ในปัจจุบันเราต้องยอมรับว่าโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดจากการบริโภคอาหารนั้นมีเพิ่มขึ้นมาก ดังนั้นทุกวันนี้ผู้บริโภคจึงเริ่มหันมาใส่ใจในการเลือกบริโภคอาหารมากขึ้น โดยการเลือกอาหารที่ดีมีประโยชน์ และที่สำคัญปลอดภัยต่อสุขภาพ อาหารอินทรีย์จึงถือเป็น (อีกหนึ่ง) ทางเลือกสำหรับผู้บริโภคที่ใส่ใจในสุขภาพและความปลอดภัย



ข้าว เป็นอาหารหลักที่คนไทยบริโภคกันทุกวัน เนื่องจากคนไทยส่วนใหญ่รับประทานอาหารกัน 3 มื้อต่อวัน และจะมีข้าวอยู่ในทุกๆ มื้ออาหาร จึงจำเป็นอย่างยิ่งที่เราจะเห็นความสำคัญของการเลือกบริโภคข้าวที่ดีที่ไม่เพียงแต่มีประโยชน์แต่ต้องเป็นข้าวอินทรีย์ที่ปลอดสารเคมีด้วยเพราะการที่เราบริโภคอาหารที่ปนเปื้อนสารเคมีหรือสารพิษซ้ำๆ ทุกวันจะส่งผลสะสมต่อร่างกายในระยะยาว



อินทรีย์คือการใช้วิธีการดูแลตามกระบวนการของธรรมชาติ ไม่ใช้สารเคมี ไม่ใช้ฮอร์โมนเร่ง ไม่ใช้ยากำจัดศัตรูพืชและแมลง และไม่ใช้สิ่งปรุงแต่งใดๆ ตลอดกระบวนการเพาะปลูก และที่สำคัญต้องปลูกให้ได้ตามมาตรฐานเกษตรอินทรีย์ การทำเกษตรอินทรีย์ นอกจากจะเป็นประโยชน์กับผู้ผลิตและผู้บริโภคแล้วยังเป็นการลดมลพิษให้กับธรรมชาติ ซึ่งเป็นการสร้างสมดุลให้กับธรรมชาติอีกด้วย



  • สุขภาพดี ปลอดภัยจากสารเคมีทั้งชาวนาและผู้บริโภค
  • ส่งเสริมรายได้ของชาวนาให้เพิ่มมากขึ้น
  • ลดความเสี่ยงและการเจ็บป่วยจากโรคภัย รวมทั้งประหยัดค่าใช้จ่ายในการรักษาพยาบาลในวันข้างหน้า
  • ลดมลพิษให้กับธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม



  • ระยะเวลาในการปรับสภาพให้เป็นอินทรีย์
  • การปลูกข้าวอินทรีย์จะต้องใช้เวลาอย่างน้อย 3-4 ปีขึ้นไปในการบำรุงและปรับสภาพดินที่ผ่านการใช้ปุ๋ยเคมีและสารเคมีกำจัดแมลงมาเป็นเวลานาน ทั้งนี้กระบวนการบำรุงดูแลสภาพดินก็จะต้องทำให้ถูกต้องตามแนวทางของมาตรฐานเกษตรอินทรีย์อีกด้วย

  • จำนวนผลผลิต
  • การปลูกข้าวอินทรีย์ในช่วงเริ่มต้นผลผลิตข้าวจะลดลงประมาณ 20-30% เมื่อเทียบกับการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมี โดยปกติการปลูกข้าวโดยใช้สารเคมีทั่วๆ ไปจะได้ผลผลิตข้าวประมาณ 1,000-1,200 กก./ไร่ ขึ้นอยู่กับประเภทของข้าวนั้นๆ

  • จำนวนครั้งที่ปลูกและชนิดพันธุ์ข้าวที่ปลูก
  • การปลูกข้าวอินทรีย์ในเขตทุ่งกุลาร้องไห้ มักจะเริ่มจากการเลือกพันธุ์ข้าวในท้องถิ่น หนึ่งในพันธุ์ข้าวที่ได้รับความนิยมคือ ข้าวหอมมะลิ 105 เพราะมีเอกลักษณ์โดดเด่น ข้าวจะหอม นุ่ม น่ารับประทาน จนได้รับรองมาตรฐาน GI ทั้งในไทยและต่างประเทศ ซึ่งข้าวพันธุ์นี้จะสามารถปลูกได้ปีละครั้งต่างจากข้าวพันธุ์อื่นๆ ทั่วไป

  • การเพิ่มต้นทุนในการดูแลรักษา
  • เมื่อดินขาดความอุดมสมบูรณ์จึงจำเป็นต้องใช้ปุ๋ยอินทรีย์ในปริมาณที่มากขึ้นเพื่อปรับสภาพดินให้
    กลับมาฟื้นตัวให้เร็วที่สุด และหลังจากการเก็บเกี่ยวแล้วก็ต้องปลูกพืชบำรุงดิน เช่น ถั่วพร้า ปอเทือง ถั่วเขียวและอื่นๆ ซึ่งจะต้องเสียค่าใช้จ่ายในการปลูกและกลบไถพืชเหล่านี้ให้ย่อยสลายกลายเป็นปุ๋ย
    นอกจากนี้ยังต้องมีการบำรุงรักษาระหว่างทำนา เช่น การกำจัดวัชพืช การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้มาตรฐาน

  • การตรวจรับรองมาตรฐาน
  • เพื่อให้เกิดความมั่นใจต่อผู้บริโภค ชาวนาต้องเสียค่าใช้จ่ายจำนวนมากในการตรวจรับรองตามระบบมาตรฐานของแต่ละประเทศ เช่น มาตรฐาน EU ของประเทศกลุ่มยุโรป มาตรฐาน USDA&NOP
    ของประเทศสหรัฐอเมริกา และอื่นๆ ดังนั้นผู้บริโภคจึงมั่นใจได้ว่าข้าวอินทรีย์ของเราเป็นข้าวอินทรีย์ที่ปลอดภัยอย่างแท้จริง

  • ความปลอดภัยและคุณภาพ
  • ผู้บริโภคข้าวอินทรีย์จะมีสุขภาพดีปลอดภัยจากสารเคมีหรือสารปนเปื้อน ชาวนาจะต้องปฏิบัติตาม
    หลักเกณฑ์ที่ผู้ตรวจสอบระบบความปลอดภัยในการผลิตกำหนด เช่น การใช้ปุ๋ยอินทรีย์ที่ได้รับการรับรองมาตรฐานความปลอดภัย
Copyright © 2018 Nana Solutions Co., Ltd. All rights reserved.